สมุนไพรและเครื่องเทศ แตกต่างกันอย่างไร มีประโยชน์กับเราอย่างไรบ้าง

สมุนไพรและเครื่องเทศ

สมุนไพรและเครื่องเทศ ในเมืองไทยมีอยู่มากมายหลายชนิดด้วยกัน ซึ่งทั้งสองประเภทก็จะมีประโยชน์และการนำไปใช้ที่แตกต่างกันพอสมควร เครื่องเทศ (Spicy) สมุนไพร (Herbs) ตามหลักวิชาการจะแยกเป็นสมุนไพรกับเครื่องเทศ เครื่องเทศโดยทั่วไปหมายถึง ส่วนที่เราใช้เมล็ดเปลือกหรือดอกหรือเกสรมาเป็นเครื่องปรุงอาหารหรือทำยา แต่ถ้าเป็นสมุนไพรจะเป็นสวนหัวสวนใบสวนรากหรือลำตัน ฯลฯ ของพืชนั้นเป็นเรื่องยากพอสมควรที่จะจัดจำแนกให้แยกออกจากกันโดยเด็ดขาดโดยเฉพาะใช้ใบในการทำอาหารแล้วเราจะใช้คำว่าเครื่องเทศเครื่องแกงหรือเครื่องแกงสดใช้เรียก ตะไคร้ ใบมะกรูด พริกสด รากผักชี มะกรูด ฯลฯ

สมุนไพรและเครื่องเทศ ต่างกันอย่างไร

เครื่องเทศ (Spicy)

นิยามตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของเครื่องเทศ คือ ของหอมฉุน และเผ็ดร้อนที่ได้จากต้นไม้ สำหรับใช้ทำยาและปรุงอาหาร แต่ในทางสากลคำว่า “Spices” หมายถึง ส่วนของพืชไม่ว่าจะเป็นชิ้น หรือบดเป็นผงซึ่งจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดกลิ่นรสเผ็ด ร้อนขึ้นในอาหารหรือเครื่องดื่มทำให้เกิดความรู้สึกน่ารับประทานและรสชาติดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีคำว่า Condiments ซึ่งหมายถึง เครื่องเทศที่ใช้ใส่หรือโรยอาหารที่ปรุงสุกแล้ว

กลิ่นและรสของเครื่องเทศ

เครื่องเทศแต่ละอย่างจะมีกลิ่นและรสเป็นสัญญลักษณ์ประจำตัวแม้แต่เป็นต้นไม้ชนิดเดียวกันหรือต้นเดียวกันแต่ละส่วนของมันจะมีกลิ่นและรสเข้มนั้นฉุนเฉียวหรืออ่อนละมุนต่างกันมีเครื่องเทศน้อยอย่างที่จะมีกลิ่นรสใกล้เคียงกันเครื่องเทศแต่ละชนิดหรือชนิดเดียวกันแต่ละส่วนเช่นใบเปลือกเมล็ดจะมีสีแก่อ่อนเข้มแตกต่างกัน
ฉะนั้นจึงเป็นข้อคิดในการทําอาหารที่ใช้เครื่องเทศถ้าตำรับให้ใช้ส่วนไหนของเครื่องเทศก็ควรใช้สวนนั้นเช่นลูกผักชีจะใช้แทนรากผักชีก็คงไม่ดีนักถึงแม้ว่าเอามาจากผักชีเหมือนกัน

สมุนไพร (Herbs)

สมุนไพร หมายถึง พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา ซึ่งจะเป็นสวนหัวสวนใบสวนรากหรือลำตัน สมุนไพรกำเนิดมาจากธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะ ในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษาชาติสัตว์หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ฯลฯ ซึ่งมิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ แต่ในทางการค้า สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่งแต่ในความรู้สึกของคนทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น

สารสำคัญใน สมุนไพรและเครื่องเทศ

จะมีสารสำคัญหลายอย่างอยู่ในตัวเช่นน้ำมันความรมและความฝาดนอกเหนือจากกลิ่นหอมชวนกินน้ำมันของสมุนไพรเป็นน้ำมันที่ระเหยได้จะมีอยู่ในเซลล์พิเศษของพืชชนิดนี้น้ำมันของมันเราสามารถมองเห็นด้วยตาได้เช่น เราเอามะนาวหรือมะกรูดที่แก่จัดไปตากแดดเราจะเห็นน้ำมันจากผิวมะนาวไหลเยิ้มออกมาเป็นเงาเห็นได้ชัดมะกรูดก็เช่นกันหรือเราบีบมะนาวหรือมะกรูดทั้งผิวโดยนวดหรือคลึงก่อนจะเห็นน้ำมันไหลเยิ้มออกมาและถ้าเราลองใช้มือที่ติดน้ำมันนั้นแตะลิ้นดูจะรู้สึกขม

การที่มีเซลล์พิเศษซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้กลิ่นระเหยได้โดยง่ายเดินของพืชไม่ว่าจะเป็นกลืนหามหรือไม่หอมรมจะระเหยได้ง่ายและละลายได้ง่ายถึงแม้ว่าจะใช้ความร้อน ต่ำสามารถละลายได้ดีและนอกจากนี้สามารถละลายได้ดีทั้งในน้ำและในน้ำมัน

พวกหัวหอมหัวกระเทียมจัดเข้าอยู่ในพวกสมุนไพรจะมีน้ำมันในตัวที่เรียกว่าน้ำมันกระเทียม (Garlic oil) น้ำมันกระเทียมจะไม่ปะปนกับอาหารอื่นเราจึงเก็บหัวหอมหัวกระเทียมกับอาหารอื่นได้โดยกดินของมันความเผ็ดของมันจะไม่ไปปะปนรบกวนอาหารอื่นนอกจากเราจะแกะเปลือกและหันหรือตำแล้วเท่านั้นกลิ่นหอมรสเผ็ดจึงจะออกมาความเผ็ดที่อยู่ในกระเทียมเรียกว่าน้ำมันมัสตาร์ตซึ่งจะมีอยู่ในสมุนไพรบางตระกูล

สารที่ให้ความขมที่มีอยู่ในสมุนไพรจะช่วยในเรื่องระบบย่อยอาหารพารที่ให้ความฝาดจะละลายน้ำได้แต่จะไม่ระเหยหรือหมดไปเมื่อถูกความร้อนการใช้เครื่องเทศและสมุนไพรมาเป็นส่วนผสมหรือเครื่องปรุงอาหารมีมาแต่โบราณเริ่มแรกกินในรูปของเครื่องเทศและสมุนไพรโดยไม่มีการตำหรือคลุกเคล้ากับอาหารต่อมาจึงมีการพัฒนาขึ้นโดยใช้ผสมหรือปนลงในยาหารโดยตำผสมเข้ากับอาหารคลุกกับอาหาร ฯลฯ เครื่องเทศใช้ได้กับอาหารทุกชนิดไม่เฉพาะแต่อาหารคาวแม้แต่เครื่องดื่มขนมหวานบางอย่างก็ขาดเครื่องเทศและสมุนไพรไม่ได้รวมทั้งการถนอมอาหารเช่น การดองผักเนื้อเสัตว์หรือการทำอาหารถนอมประเภทผักเนื้อสัตว์น้ำผลไม้ก็ต้องใช้เครื่องเทศเราข้าใจดนตรีด้วยการฟังเข้าใจศิลปะต้องอาศัยตาแต่ถ้าเป็นอาหารเราจะเข้าใจอย่างถ่องแท้ต้องอาศัยประสาทสัมผัส 3 ทางคือ รู้รสด้วยการกิน ได้กลิ่นจากจมูก และเกิดความรู้สึกว่าสวยน่ากินด้วยตา

ประโยชน์ของพืชสมุนไพร

  1. เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว
  2. มีความปลอดภัยในการใช้ เนื่องจากสมุนไพรส่วนมากมีฤทธิ์อ่อนไม่ค่อยมีพิษมีภัย
  3. ประหยัด ราคาถูก
  4. เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ห่างไกลทุรกันดาร
  5. ไม่ต้องกลัวปัญหาการขาดแคลนยา
  6. เป็นพืชเศรษฐกิจ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อยา สามารถส่งไปจำหน่ายทั้งตลาดภายในประเทศ และตลาดต่างประเทศได้อีกด้วย

ประโยชน์ของพืชเครื่องเทศ

  1. ช่วยเพิ่มกลิ่นและรสของอาหาร เครื่องเทศจะทำให้อาหารมีกลิ่นหอมและรสชาติน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น ซึ่งกลิ่นของเครื่องเทศที่เกิดจากน้ำมันหอมระเหย ( Essential oil ) ซึ่งเป็นสารประกอบพวก terpeane ส่วนรสที่ได้จากเครื่องเทศส่วนใหญ่เป็นรสเผ็ดร้อน ( Pungency ) เช่น รสเผ็ดของพริก พริกไทยและขิง
  2. ช่วยเพิ่มสีสรรให้กับอาหาร สีที่เกิดจากเครื่องเทศเป็นสีธรรมชาติไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค สีที่ได้จากเครื่องเทศมีหลายสี เช่น สีเหลืองจากขมิ้น สีแดงจาดพริกสด เป็นต้น
  3. ช่วยเพิ่มความน่ารับประทานให้กับอาหาร อาหารที่ใส่เครื่องเทศจะเพิ่มรสชาติทำให้อาหารอร่อยขึ้น
  4. ช่วยถนอมอาหารและดับกลิ่นอาหาร มนุษย์ในสมัยอดีตกาลเป็นต้นมาได้ใช้เครื่องเทศในการช่วยถนอมอาหารให้เก็บไว้ได้นาน แม้กระทั่งถึงสมัยปัจจุบันก็ยังนิยมกันอยู่ สำหรับเครื่องเทศที่นิยมนำมาดับกลิ่นคาว เช่น ข่าและตะไคร้ เป็นต้น ( รุ่งรัตน์ เหลืองนทีเทพ, 2535 )

แหล่งที่มา : https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-4/herb/31.html

การนำ สมุนไพรและเครื่องเทศ ไปใช้

ทั้งสมุนไพรและเครื่องเทศนอกจากจะมีสรรพคุณในการเป็นยาช่วยรักษาโรคแล้ว ก็ยังสามารถนำมาปรุงอาหาร แต่งกลิ่น ให้มีรสชาติที่อร่อย และมีเอกลักษณ์ได้ อย่างเช่น ตะไคร้ ใบมะกรูด กระเทียม พริก ที่ถือเป็นส่วนประกอบหลักในอาหารไทยหลายชนิดที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอีกด้วย การที่เรามีความเข้าใจในเรื่องของสมุนไพรและเครื่องเทศก็จะทำให้เราเห็นคุณค่าของสิ่งเหล่านี้และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย

Charunros Foods รับผลิตผงผัก ผงผลไม้ ผงเนื้อสัตว์ และผงปรุงรส เพื่อสุขภาพ ครบวงจร